หูดหงอนไก่ คืออะไร? ไปทำความรู้จักกันได้เลย
หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มักเป็นในร่มผ้า อยู่ในจุดที่บอบบางซึ่งอาจสร้างความระคายเคืองได้ และลุกลามไปบริเวณอื่นเป็นรอยโรคที่ใหญ่ขึ้น แต่พบมากในหมู่วัยรุ่นเนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบันนิยม มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง
หูดหงอนไก่ คืออะไร?
หูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ HPV มีลักษณะเป็นตุ่มหรือแผ่นนูน นิ่มๆ คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพูหรือสีเดียวกับผิวหนัง ยื่นออกมาบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณใกล้เคียง อาจรู้จักในอีกชื่อ คือ หูดอวัยวะเพศ
สาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่
- เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus)
- เชื้อ HPV คืออะไร?
- ไวรัสชนิดนี้ปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 200 สายพันธุ์ และกว่า 40 สายพันธุ์สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 90 ของโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เชื้อชนิดนี้มีบางสายพันธุ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกได้
- HPV แบ่งตามความสามารถในการก่อมะเร็งออกเป็น
- สายพันธุ์ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง (Oncogenic หรือ high risk HPV types) ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 41-45, 51, 52, 56, 59
- สายพันธุ์ที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง (Nononcogenic หรือ low risk HPV types) ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44
- เชื้อ HPV คืออะไร?
- เชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุที่ติดเชื้อ
- เชื้อไวรัสจะเข้าผ่านทางรอยถลอกขนาดเล็ก (microabrasion) จึงมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ถุงยางไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ทั้งหมด
- ผู้แพร่เชื้อไม่จำเป็นต้องมีรอยโรค (แต่ในคนที่มีรอยโรคจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้มากกว่าเนื่องจากมีปริมาณไวรัสสูงกว่า)
- ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน (เฉลี่ย 2.9 เดือน)
อาการของ หูดหงอนไก่
- หูดหงอนไก่เป็นตุ่มหรือแผ่นนูน นิ่มๆ คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพูหรือสีเดียวกับผิวหนัง ยื่นออกมาบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียง
- ตำแหน่งที่พบบ่อย (อาจพบได้หลายตำแหน่งพร้อมๆกัน) รอบปากช่องคลอด, ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ ,บริเวณลำองคชาติที่ขลิบแล้ว ,ปากมดลูก ,ช่องคลอด ,ท่อปัสสาวะ ,ฝีเย็บ ,รอบทวารหนัก ,รูทวารหนัก ,อัณฑะ
- ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ * ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของรอยโรค หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง อุดกลั้นท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอดได้ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดการแผลและติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่อหูดได้
วิธีการรักษาหูดหงอนไก่
- ในรายที่มีรอยโรคขนาดเล็กหรือไม่มีอาการ อาจพิจารณาตรวจติดตาม หากยังไม่หายภายใน 1 ปี จึงเริ่มการรักษา
- การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการผ่าตัด
- อัตราการหายของหูด 35-100% ภายใน 3-15 สัปดาห์
- ผู้ป่วยประมาณ 20-30% จะกลับเป็นซ้ำ (ในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่) ภายใน 2-3 สัปดาห์
- การรักษาหูดอวัยวะเพศไม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการรักษา ตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ อาจจะต้องใช้เวลานาน
- การเลือกวิธีการรักษา ขึ้นกับขนาด จำนวน ตำแหน่งของรอยโรค และผลข้างเคียงของการรักษา
การป้องกันให้ปลอดภัยจากหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศ โดยการมีคู่นอนคนเดียว หรือให้น้อยที่สุด ถุงยางอนามัยไม่สามารถยับยั้งการแพร่เชื้อ HPV ได้ทั้งหมด เพราะเชื้อสามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป บริเวณฝีเย็บ หัวหน่าว รอบทวารหนักเป็นต้น (ทั้งนี้การสวมใส่ถุงยางอนามัยช่วยลดโอกาสการติดต่อได้มากกว่าการไม่สวมใส่ นอกจากนั้นยังช่วยลดการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ เชื้อ HIV หนองในแท้ หนองในเทียม และโรคเริม ได้อีกด้วย)